วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

ชีววิทยา คืออะไร ??




ชีววิทยา คืออะไร ??




     ชีววิทยา (Biology) 
           คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆอย่างมีเหตุและผล ซึ่งศึกษาทั้งในเรื่อง ด้านโครงสร้าง ด้านการทำงาน ด้านการเจริญเติบโต ด้านวิวัฒนาการ ด้านถิ่นกำเนิด ด้านอนุกรมวิธาน ด้านการกระจายพันธุ์ และด้านอื่นๆอีกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต โดยจะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าอย่างมีเหตุมีผลในทุกแง่ทุกมุมของสิ่งมีชีวิตโดยละเอียด ซึ่งจะพึ่งพาการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต่างๆคำว่า ชีววิทยา (Biology) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก จากคำว่า “bios” ที่แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ “logos” ที่แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล      
         เนื่องจากแต่ละเรื่องในเนื้อหาของชีววิทยามีกระบวนการและขั้นตอนการศึกษาที่ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนมีหลายขั้นตอน ชีววิทยาจึงแตกแขนงเป็นสาขาวิชาต่างๆอีกมากมาย เพื่อจะได้เน้นศึกษาเฉพาะเรื่องของชีววิทยา ทำให้ศึกษาในเรื่องนั้นๆได้ละเอียดและลึกมากยิ่งขึ้น        
          สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างไปจากสิ่งไม่มีชีวิต ดังนี้ (Biology) สิ่งมีชีวิตสืบพันธุ์ได้ การสืบพันธุ์เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่จะให้ลูกหลานดำรงเผ่าพันธุ์ สืบเนื่องต่อไป การ สืบพันธุ์อาจจะสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ หรือโดยไม่อาศัยเพศก็ตาม สามารถถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ จากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานที่เกิด ขึ้น หน่วยที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ยีน (gene) ซึ่งอยู่บนโครโมโซมภายในนิวเคลียสของเซล ดังนั้น การสืบพันธุ์ เป็นกิจกรรมขั้นสุดยอดของสิ่งมีชีวิต ที่จะรักษาเผ่าพันธุ์ของตนเอง ให้ยั่งยืนและอยู่รอดในระบบนิเวศ        1. สิ่งมีชีวิตมีขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเรียกว่า ขบวนการเมตตาโบลิซึม (metabolism) ซึ่งก่อให้เกิดพลังงานและการสังเคราะห์สารต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดำรงชีพ เช่นขบวนการหายใจระดับเซลล์ หรือ ขบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง หรือการสังเคราะห์พลังงาน และระบบการใช้พลังงานที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ยกเว้นเชื้อไวรัส ต้องอาศัยพลังงานจากเซลของสิ่งมีชีวิตอื่น สิ่งมีชีวิตต้องเจริญเติบโต การเจริญเติบโตต้องประกอบด้วยการ แบ่งเซลล์ การขยายขนาดของเซล และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์        2. สิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวได้ การเคลื่อนไหวเกิดจากการใช้พลังงาน ภายในเซลของร่างกายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ไปกระตุ้น ให้กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเกิดการทำงาน       3. สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ คือสามารถตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆที่มากระทบหรือกระตุ้นการตอบสนองเป็นพฤติกรรม ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมแต่ละแห่ง       4. สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ เมื่อสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆตัวของสิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไป สิ่งมีชีวิตจะต้องมีการปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพสิ่งแวดล้อมนั้น โดยมีการปรับตัว 3 ลักษณะ คือ การปรับโครงสร้างรูปร่างส่วน ประกอบของร่างกาย การปรับพฤติกรรม และการปรับกลไกการทำงานของร่างกายหรือการทำงานของเซลล์      5. สิ่งมีชีวิตต้องมีการจัดระบบการทำงานภายในเซลล์หรือในร่างกายอย่างมีระบบ เช่น ในเซลล์จะมีออร์แกแนลต่างๆทำหน้าที่ เสมือนอวัยวะของร่างกายของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างของร่างกายซับซ้อน ก็จะมีกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกัน เรียกว่า เนื้อเยื่อ (Tissue) กลุ่มของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ร่วมกัน เรียกว่าอวัยวะ (Organ) อวัยวะชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันทำงานร่วมกัน เรียกว่าระบบ (System) ระบบหลายระบบทำงานร่วมกันจะเป็นร่างกาย (Body) เช่นระบบทางเดินอาหาร จะประกอบด้วยอวัยวะ ต่าง ๆ มากมาย เช่น ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ ตับอ่อน ทวารหนัก จะเห็นว่า การทำงานของร่างกาย สิ่งมีชีวิต จะมีการจัดระบบตั้งแต่ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ และระบบต่าง ๆ วิชา       
           ชีววิทยา จะศึกษาเฉพาะเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต โดยใช้ขั้นตอนการศึกษา ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกระบวนการศึกษา (Process) ที่นักชีววิทยาใช้ในการศึกษา เรื่องราวของสิ่งมีชีวิตตามขั้นตอน คือ การสังเกต การตั้งปัญหา การตั้งสมมติฐาน การตรวจสอบสมติฐาน การแปลผลและการสรุปผลดังที่กล่าวมาแล้วสิ่งที่ได้มาจากกระบวนการศึกษาเกิดเป็นความรู้ (Knowlege) ซึ่งอาจจะประกอบด้วย ! ข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งและสิ่งที่ได้จากการสังเกตหรือรับรู้ ! ข้อเท็จจริง (Fact) สิ่งที่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติ ! ข้อสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปหาความสัมพันธ์ของข้อมูลตามเหตุและผลต่อกัน ! กฎ (Law) เป็นความจริงหลักที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล ! ทฤษฎี (Theory) เป็นสมมติฐานที่ได้รับการพิสูจน์แล้วหลาย ๆ ครั้ง จนเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นวิชาชีววิทยาจึงเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการศึกษาสิ่งมีชีวิต ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความรู้ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ที่นักชีววิทยาได้รวบรวมบันทึกไว้ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง กฏ หลักเกณฑ์ ข้อสรุป และทฤษฎี เพื่อ ใช้อธิบายสภาพทางธรรมชาติ กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิต โดยมีจุดประสงค์หลัก 2 ประการ คือ ! เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดตลอดจนเรื่องราวภายในตัวของมนุษย์เองด้วย ! เพื่อนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ และการแก้ปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้มนุษย์ได้ดำรงชีพอยู่ อย่างราบรื่น เช่นนำมาใช้ทางการแพทย์การเกษตรการอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม และ      
        เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) วิชาชีววิทยาประกอบด้วยแขนงวิชาต่าง ๆ มากมาย   โดยมีหลักการจำแนก 2 ประการ คือ   1.จำแนกตามธรรมชาติขิงสิ่งแวดล้อม   2.จำแนกตามวิธีการศึกษาของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ นอกจากนี้แล้วยังแบ่งเป็นแขนงอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น   1. โบราณชีวศาสตร์ (Palcontology) ศึกษาเกี่ยวกับซากเหลือของพืช-สัตว์โบราณ   2. ปราสิตวิทยา (Parasitology) ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่แย่งอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น   3. พยาธิวิทยา (Pathology) ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ อาหาร และสาเหตุของโรคต่าง ๆเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)   เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นสาขาหนึ่งของการนำเอาความรู้ทางชีววิทยา มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่มนุษย์   ต้องการ เช่นด้านการเกษตร ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ด้านอุตสาหกรรม อาหาร เครื่องดื่ม ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การนำความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ ทำให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้   1. ด้านการเกษตร   2. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข   3. ด้านอาหารและเครื่องดื่ม   4. ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 




อ้างอิง

https://www.youtube.com/watch?v=VEg_OuuI-F4
https://www.youtube.com/watch?v=URUJD5NEXC8
https://www.youtube.com/watch?v=BC-JWdKtAzU
http://doraemonmickey.blogspot.com/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและระบบสืบพันธุ์

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและระบบสืบพันธุ์  มวนเป็นแมลงที่พบทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย เมื่อโตเต็มวัยจะผสมพันธุ์และว...